วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2561

ประเพณีภาคตะวันออก

ประเพณีภาคตะวันออก

  ภาคตะวันออก ดินแดนแห่งความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าภาคอื่นของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเสน่ห์มนต์ขลัง ชวนให้น่าขึ้นไปสัมผัสความงดงามเหล่านี้ยิ่งนักภาคกลางมีทั้งสิ้น 7 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระนอง จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ประเพณีวิ่งควาย
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิ่งควาย  ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 หรือก่อนออกพรรษา 1 วัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อนหลังจากตรากตรำกับการงานในท้องนามายาวนาน
      ว่ากันว่าถ้าปีใดไม่มีการวิ่งควาย ปีนั้นวัวควายจะเป็นโรคระบาดล้มตายเป็นจำนวนมาก หรือถ้าถ้าควายของใครเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา เจ้าของควายมักจะนำควายของตนไปบนกับเทพารักษ์ โดยเมื่อหายเป็นปกติแล้วจะต้องนำควายมาวิ่งแก้บน
     นอกจากนี้ประเพณีวิ่งควายยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควายที่เป็นสัตว์มีบุญคุณต่อชาวนาและคนไทยอีกทั้งยังเพื่อให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพักผ่อนมาพบปะสังสรรค์กันในงานวิ่งควาย
      ประเพณีวิ่งควายยุคแรกเริ่มจัดขึ้นที่ วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี ซึ่งเกิดจากการที่ชาวบ้านมาชุมนุมกันที่วัด และนำเครื่องกัณฑ์ใส่ควายเทียมเกวียนมาพักที่วัดเพื่อรอการติดกันเทศน์ ในเทศกาลเทศน์มหาชาติ
      การแข่งขันวิ่งควายในระยะแรกเป็นเพียงการบังคับให้ควายขณะวิ่งในระยะที่กำหนด โดยคนขี่ห้ามตกจากหลังควาย ก่อนที่จะพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นการวิ่งควายในปัจจุบันที่มีการตกแต่งควายอย่างสวยงาม อาทิ การแต่งตัวควายด้วยผ้าหลากสีสัน หรือไม่ก็ตกแต่งด้วยเครื่องประดับมากมาย
      จากนั้นเจ้าของควายจะนำควายมาวิ่งแข่งกันโดยเจ้าของเป็นผู้บังคับขี่หลังควายไปด้วย ท่ามกลางกองเชียร์ที่คอยส่งเสียงเชียร์และลุ้นอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะตอนที่คนขี่ตกหลังควายจะได้รับเสียงเฮมากเป็นพิเศษ นอกจากการวิ่งควายแล้ว งานนี้ยังมีกิจกรรมการละเล่นต่างๆมากมาย ซึ่งสำหรับปีนี้ทางจังหวัดชลบุรีกำหนดจัดงานประเพณีวิ่งควายขึ้นในชื่อ "ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี" ประจำปี 2550 (ครั้งที่ 136) ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 ตุลาคม 2550 ณ สนามหน้าอำเภอเมือง จ.ชลบุรี

วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2560

Lilo & Stich

ประวัติของ Stitch เเละ Lilo


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Stitch

รูปภาพที่เกี่ยวข้องผลจากการทดลองทางพันธุกรรมที่ผิดกฎหมายโดย Jumba นักวิทยาศาสตร์จอมเพี้ยนทำให้ Stitch ดูไร้ซึ่งอันตราย แต่ที่จริงแล้ว Stitch กลับเป็นสุดยอดเครื่องจักรกลต่อสู้ เขามีความแข็งแกร่ง ฉลาด เจ้าเล่ห์ และเป็นจอมทำลายล้าง 
สิ่งเดียวที่เขาต้องการคือครอบครัว




รูปภาพที่เกี่ยวข้องLilo

Lilo เด็กน่ารักน่ากอดผู้เป็นแฟนตัวยงของ Elvis เธอเป็นเด็กกำพร้าที่มีความหลงใหลในเรื่องแปลกๆ แต่ความแปลกไม่ได้ทำให้เธอมีเพื่อน เธอชื่นชม
 Nani พี่สาวของเธอและต้องการหาเพื่อนที่จะคบกันไปตลอดชีวิต


เรื่องราว
เมื่ออุกกาบาตตกลงที่ฮาวาย ลีโล่ เด็กที่ดูเหมือนจะถูกสังคมของเพื่อนๆรังเกียจ ได้ขออธิษฐานว่า ขอใครสักคนที่จะมาเป็นเพื่อนและไม่ทอดทิ้งเค้าไป และก็ได้สมตั้งใจจริงๆ (มั้ง) ในขณะเดียวกัน ที่สภาคมมติชนแห่งกาแล็คซี่ ได้ตั้งสปายพริกลี่ ทูตแห่งดวงดาวสีน้ำเงินที่ชื่อว่าโลก และจัมบ้าผู้สร้างสิ่งมีชีวิตทดลอง 626 (สติทช์ในเวลาต่อมา) ให้ไปจับสิ่งมีชีวิตลึกลับที่เขาทำหายกลับคืนมา เพราะหากปล่อยไว้อาจสร้างความเสียหายต่อสถานที่ๆมันอยู่ก็ได้ ขณะเดียวกัน ลีโล่ได้สุนัขตัวใหม่มา แต่เมื่อมาถึงบ้าน มันคือสิ่งมีชีวิตที่สร้างมาเพื่อการทำลายอย่างเดียว ลีโล่รู้สึกอึดอัดใจที่สติทช์ สุนัขของเธอเอาแต่ทำลายไปวันๆโดยไม่มีทางเป็นพลเมืองดีเลย แต่ซวยซ้ำซาก เมื่อแนนนี่พี่สาวลีโล่ถูกนักสังคมสงเคราะห์จะตามเรียกตัวลีโล่ไปในอีก 3 วันข้างหน้าหากเธอยังดูแลลีโล่ไม่ดีพอ.ท่ามกลางความวุ่นวายของสมาชิกในครอบครัว ลีโล่ได้สั่งสอนต่อสติทช์ให้เป็นพลเมืองดีกับเขาบ้าง แต่แทนที่จะดีขึ้น นับวัน เรื่องราวก็ยิ่งเริ่มเลวร้ายขึ้นอีก.วันต่อมา ที่สมาคม ได้ส่งกัปตันแกนตูไปเพื่อส่งสปายพริกลี่และจัมบ้ากลับมาที่สมาคมพร้อมข้อหาทำงานล่วงเวลาที่กำหนดให้ไว้ และจับสิ่งมีชีวิตทดลอง 626 กลับคืนมา. ในขณะเดียวกัน นานี่เพิ่งได้งานใหม่จากเพื่อนสนิทของเธอ เดวิด .ยังไม่ทันจบซีน จัมบ้าและพริกลี่ได้ไปบุกบ้านลีโล่จนพังทลายไม่มีสภาพความเป็นบ้านเลย ลีโล่และสติทช์ไหวตัวออกจากบ้านได้ทันท่วงทีจึงไม่เป็นอันตรายมาก. หลังจากแนนนี่ได้งานมาสำเร็จ เธอก็เดินกำลังจะกลับบ้านไปยังซอยๆหนึ่ง โฉบตาแนนนี่สักพัก รถดับเพลิงได้บึ่งไปยังซอยบ้านของแนนนี่ด้วยความเร็ว เธอจึงรีบตามรถดับเพลิงไปทันที ยังไม่ทันจะถึงบ้าน ซีไอเอคอบร้าแห่งสมาคมนักสงเคราะห์ก็มาจับลีโล่ไปเข้ารถ เหลือไว้เพียงสติทช์เท่านั้น แนนนี่มาขอตัวลีโล่แต่ไม่สำเร็จ เมื่อพ้นตา ลีโล่ได้ออกจากรถ ลีโล่กับสติทช์สนทนาไปสักพัก แกนตูก็จับลีโล่และสติทช์ไปแล้ว สติทช์ใช้ความสามารถของเขาออกมาจากแคปซูลฉิวเฉียด เมื่อลีโล่หายไป สติทช์ก็ถูกจัมบ้าจับอีก แนนนี่ได้เห็นจัมบ้าและพริกลี่จึงสนทนากัน แล้วพบสติทช์จึงถามว่าลีโล่อยู่ไหนด้วยความห่วงใย สติทช์จึงบอกมาแล้วใช้จรวดจัมบ้าขับตาม กวดไปมากันจนแกนตูเสียหลัก เดวิดที่กำลังเล่นโต้คลื่นอยู่นั้นเห็นสติทช์กับพวกจึงไปช่วย แต่ก็ยังไม่ทันช่วยได้นาน หัวหน้าสมาคมมติชนแห่งกาแล็คซี่ได้จับสติทช์และปลดกัปตันแกนตูออกในฐานะทำงานไม่สำเร็จ คอบร้า บับเบิ้ลได้ถามลีโล่ว่า " มีใบอนุญาตฺเลี้ยงสติทช์ไม่ใช่เหรอ " ลีโล่จึงส่งใบอนุญาตไป คอบร้า บับเบิ้ล จึงบอกกับหัวหน้าสมาคมว่า " เอเลี่ยน ต้องเคารพสิทธิของมนุษย์โลก " หัวหน้าสมาคมจึงปล่อยลีโล่ พร้อมปล่อยจัมบ้าและพริกลี่ตามยถากรรม และให้สิทธิเลี้ยงสิ่งมีชีวิตลอง 626 พร้อมช่วยเหลือในทุกด้านตลอดไปจนกว่าจะเลิกเลี้ยงสติทช์ไป แนนนี่จึงได้จัมบ้าและพริกลี่มาเป็นสมาชิกใหม่ของบ้าน และร่วมกันสร้างบ้านใหม่และสามารถกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อย่างมีความสุข

แหล่งข้อมูลอื่น

  • www.facebook.com/pages/Walt-Disney-Cartoon-And-Animation-Pixar-Cartoon

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องอาเซียน

อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ  10  ประเทศ   ในทวีปเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้  ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย  ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)    คือ   เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย   มาเลเซีย และฟิลิปปินส์   ได้ร่วมกันจัดตั้ง   สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504   เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  แต่  
ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง  เนื่องจากความผกผันทางการเมือง 
ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต
ระหว่างสองประเทศ 
asean258
ความเป็นมาของอาเซียน              สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association  of  Southeast  Asian  Nations  หรือ  ASEAN)  ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ  (Bangkok  Declaration)  หรือ  ปฏิญญาอาเซียน  (ASEAN  Declaration)  เมื่อวันที่  8  สิงหาคม  2510  โดยมีประเทศสมาชิก  5  ประเทศ  ประกอบด้วย  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  และไทย
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจและสังคม  ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม  ได้แก่  บรูไนดารุส-ซาลาม   เวียดนาม   ลาว   เมียนมาร์  และกัมพูชา  ตามลำดับ   จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน   มีสมาชิก  10  ประเทศ
“อาเซียน” สู่การเป็นประชาคมอาเซียน  ในปี 2558 
              ปัจจุบัน  บริบททางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม   รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก      ทำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ    อาทิ    โรคระบาด    การก่อการร้าย   ยาเสพติด  การค้ามนุษย์  สิ่งแวดล้อม  ภัยพิบัติ  อีกทั้ง  ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง  และในเวทีระหว่างประเทศ  ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า  อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น  เข้มแข็ง  และมั่นคงยิ่งขึ้น  จึงได้ประกาศ  “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน  ฉบับที่ 2”  (Declaration  of  ASEAN  Concord  II)  ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย  3  เสาหลัก ได้แก่
        -  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community - APSC)
        -  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC)
        -   ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC)
        ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี 2558
ประชาคมอาเซียน คือ 
         ประชาคมอาเซียน  (ASEAN  Community)  คือ  การรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง  สามารถสร้างโอกาสและรับมือส่งท้าท้าย  ทั้งด้านการเมืองความมั่นคง  เศรษฐกิจ  
จุดประสงค์หลักของอาเซียน
              ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
              1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
              2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
              3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
              4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
              5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
              6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
              7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ  และองค์การระหว่างประเทศ

ภาษาอาเซียน 
              ภาษาทางการที่ใช้ในการติดต่อประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก  คือ  ภาษาอังกฤษ
คำขวัญของอาเซียน
                                                        
"หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
                                           (One Vision, One Identity, One Community)

อัตลักษณ์อาเซียน             อาเซียนจะต้องส่งเสริมอัตลักษณ์ร่วมกันของตนและความรู้สึกเป็นเจ้าของในหมู่ประชาชนของตน  เพื่อให้บรรลุชะตา  เป้าหมาย  และคุณค่าร่วมกันของอาเซียน

ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจาก AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)
           ประชาคมอาเซียนที่จะถือกำเนิดในปี 2558 นั้น คนไทยจะได้ประโยชน์อะไร แน่นอนเราคงอยากทราบ แต่ในชั้นนี้ขอจำกัดเฉพาะทางเศรษฐกิจก่อน
              ประการแรก ไทยจะ “มีหน้ามีตาและฐานะ” เด่นขึ้นประชาคมอาเซียนจะทำให้เศรษฐกิจ “ของเรา” มีมูลค่ารวมกัน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีขนาดใหญ่อันดับ 9 ของโลก ยังประโยชน์แก่คนไทยทุกคนที่จะได้ยืนอย่างสง่างาม “ยิ้มสยาม” จะคมชัดขึ้น
              ประการที่สอง การค้าระหว่างไทยกับประเทศอาเซียนจะคล่องและขยายตัวมากขึ้น กำแพงภาษีจะลดลงจนเกือบจะหมดไป เพราะ 10 ตลาดกลายเป็นตลาดเดียว 
              ประการที่สาม ตลาดของเราจะใหญ่ขึ้น แทนที่จะเป็นตลาดของคน 67 ล้านคน ก็จะกลายเป็นตลาดของคน 590 ล้านคน
              ประการที่สี่ความเป็นประชาคมจะทำให้มีการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารคมนาคมระหว่างกันเพื่อประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน 

              ประการที่ห้า โดยที่ ไทยตั้งอยู่ในจุดกึ่งกลางบนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่อาเซียน ประเทศไทยย่อมได้รับประโยชน์จากปริมาณการคมนาคมขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับจีน (และอินเดีย) มากยิ่งกว่าประเทศอื่นๆ
ที่มา. มติชน

เศรษฐกิจพอเพียง

 เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
 เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางสายกลาง ความไม่ประมาท ไม่ฟุ่มเฟือย คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง ตลอดจนการใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต โดยมีใจความสำคัญคือสติ ปัญญา และความเพียร ซึ่งเป็นบันไดสู่ความสุขในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ดังนี้

หลักเศรษฐกิจพอเพียง

          “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (18 กรกฎาคม 2517)

          “...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (4 ธันวาคม 2517)

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังนี้
 
ห่วง 1 คือ ความพอประมาณ 
    
          หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 

ห่วง 2 คือ ความมีเหตุผล
    
          หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ 

ห่วง 3 คือ ภูมิคุ้มกัน 
    
          หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

          ทั้งนี้นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ยังมีเงื่อนไขของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงอีก 2 ประการ ดังนี้

1. เงื่อนไขความรู้

    
          อันประกอบไปด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ 

2. เงื่อนไขคุณธรรม
    
          อันประกอบไปด้วยความตระหนักในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร และการใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องเสริมสร้าง


หลักเศรษฐกิจพอเพียง

ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ต้องทำอย่างไร
    
          แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอันเกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับสภาพสังคมของประเทศชาติ และวิถีชีวิตของประชาชนชาวไทย ซึ่งเราสามารถนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติได้ตามนี้

 1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต 
          2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต 
          3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง 
          4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ 
          5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา

ที่มา.มูลนิธิชัยพัฒนา
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

วิชาคอมพิวเตอร์

ประวัติส่วนตัว
1. ชื่อ นางสาว จันทร์จิรา เกษี
2. ชื่อเล่น นุ้งนิ้ง
3. วันเกิด 29/01/2544
4. เบอร์โทร 0924545087
5. นิสัย ใจดีเฟลนลี่ ยิ้มง่าย
6. สีที่ชอบ สีฟ้า
7. อาหารที่ชอบ ชอบทุกอย่างที่ไม่หวาน
8. วิชาที่ชอบ อังกฤษ
9. วิชาที่ไม่ชอบ คณิต
10. อายุ 17

ประเพณีภาคตะวันออก

ประเพณีภาคตะวันออก     ภาคตะวันออก ดินแดนแห่งความหลากหลายทางประเพณี และวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าภาคอื่นของไทย เพราะเป็นเมือ...